วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553
กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 ก้าวทันเทคโนโลยีการจัดการด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก
- สรุปทฤษฎีหลักการจัดการ
ทฤษฎีการจัดการ (Management Theories)
ทฤษฎีการจัดการที่สำคัญๆ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
1.กลุ่มทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม
2.กลุ่มทฤษฎีการจัดการด้านมนุษยสัมพันธ์
3.กลุ่มทฤษฎีการเชิงปริมาณ
4.กลุ่มทฤษฎีการปัจจุบัน
1.กลุ่มทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม (Classical Perspective)
แบ่งออกเป็น 3 แบบ
1.การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific management) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการจัดการที่อาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ใช้หลักเหตุผล สามารถพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้
Frederick W. Taylor
- ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
- สร้างแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ในการหาวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
แนวคิดของ Taylor คือ
- มุ่งให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความรู้ความสามารถมากที่สุด
- การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยพยายามลดต้นทุนและเพิ่มกำไร
- รวมถึงเพิ่มค่าจ้างให้คนงานที่สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยถือหลักของการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม
หลักการจัดการทางวิทยาศาสตร์
1. อาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์หรือหลักของเหตุผล เพื่อที่จะค้นหาวิธีทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สุด
2. กำหนดมาตรฐานของงาน คุณภาพ และปริมาณของผลงานที่ต้องการ โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับผู้ปฏิบัติ
3. มีการพิจารณาผลตอบแทนในการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของผลผลิต
ลักษณะที่สำคัญ 4 ประการของการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ของ Taylor
1. พัฒนาความรู้ในวิธีการทำงานโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์
2. ต้องมีการคัดเลือกและพัฒนาคนงาน โดยใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ : เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับงาน ทำให้งานที่ทำมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการร่วมมือกันอย่างจริงจังในทำงานจากทุกฝ่าย
4. มีการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสม
ผลงานที่สำคัญของ Taylor
1. การใช้ระบบค่าตอบแทนรายชิ้น: ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย
2. หลักการเสียเวลา : เป็นการศึกษาเพื่อหาเวลามาตรฐานในการทำงานแต่ละชิ้นว่าควรจะใช้เวลาเท่าใด
3. หลักการทำงานตามแบบวิทยาศาสตร์: ฝ่ายบริหารควรกำหนดวิธีการและมาตรฐานในการปฏิบัติงานโดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถวัดและตรวจสอบได้
4. หลักการแยกงานด้านการวางแผนออกจากงานปฏิบัติ :
- งานด้านวางแผนเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร
- งานด้านการปฏิบัติเป็นหน้าที่ของคนงาน
5. หลักการควบคุมโดยฝ่ายจัดการ : ผู้จัดการควรได้รับการฝึกที่ดี สามารถวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงานได้
6. หลักการจัดระเบียบการปฏิบัติงาน : การปฏิบัติงานต้องมีกฎระเบียบ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
Henry L. Gantt เป็นวิศวกรเครื่องกล ได้ร่วมงานกับ Taylor และร่วมกันสร้างผลงานหลายอย่าง
ผลงานของ Gantt ที่สำคัญได้แก่
- พัฒนาแผนภูมิบันทึกความก้าวหน้าของงานเทียบเวลา Grant chart หรือ Bar chart ต่อมาเรียก PERT (Program Evaluation and Review Technique)
- ระบบการจูงใจโดยการให้ Bonus โดย Gantt เชื่อว่า คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของปัญหาด้านการจัดการทั้งหมด
2.การจัดการแบบราชการ (Bureaucratic management)
Max Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน
• ศึกษาการทำงานภายในองค์การ และโครงสร้างของสังคมได้แก่ ทหาร รัฐบาล การเมือง และองค์การอื่นๆ
• Weber ได้เสนอรูปแบบการจัดการที่เรียกว่าระบบราชการ ซึ่งถือเป็นรูปแบบขององค์การในอุดมคติ และเป็นรูปแบบขององค์การที่มีประสิทธิภาพ
ระบบราชการ มีลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ
1. มีการจัดชั้นตำแหน่งและสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน
2. มีการแบ่งงานกันทำโดยคำนึงถึงความชำนาญเฉพาะอย่าง แต่ละงานมีขอบเขตแน่นอน ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน
3. มีระเบียบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน
4. มีการจัดระบบของการทำงานและมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ
5. ไม่นำเอาความสัมพันธ์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องในงาน ทุกคนต้องทำงานโดยยึดหลักของเหตุและผล
6. การเลือกคนเข้าทำงานและการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์
ในปัจจุบัน ระบบราชการ ได้ถูกนำมาใช้ในความหมายเชิงลบ ซึ่งหมายถึง ระบบที่มีกฎเกณฑ์มากและการรัดขั้นตอน
ในความเป็นจริงการมีกฎเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติงานนั้นเป็นการกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงาน ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และทุกคนต้องทราบกฎข้อบังคับที่มีอยู่
3.การจัดการตามหลักการบริหาร (Administrative management)
• เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า ประสิทธิภาพขององค์การจะเพิ่มขึ้นได้โดยการปรับปรุงกระบวนการบริหาร
• Henri Fayol เป็นวิศวกรเหมืองแร่ชาวฝรั่งเศส ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการเชิงปฏิบัติการสมัยใหม่
แนวคิดของ Fayol
- การวางรากฐานเพื่อการสร้างประสิทธิภาพให้แก่องค์การ สามารถพัฒนาผลผลิตของคนงานให้ดีขึ้นได้
- ให้ความสำคัญต่อภารกิจทางการบริหารของฝ่ายจัดการ
Fayol แบ่งงานด้านอุตสาหกรรมออกเป็น 6 กลุ่ม
1. ด้านเทคนิค : การผลิตงาน โรงงาน การปรับตัว
2. ด้านการค้า : การซื้อ การขาย และการแลกเปลี่ยน
3. ด้านการคลัง : การจัดหาทุน และการใช้จ่ายทุน
4. ด้านความมั่นคง : การรักษาคุ้มครองทรัพย์สินและบุคลากร
5. ด้านการบัญชี : งานธุรการพัสดุ การงบดุล และสถิติ
6. ด้านการจัดการ : การวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ การประสานงาน และการควบคุม
หลักการบริหารของ Fayol
1. การแบ่งงานกันทำ
2. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
3. ระเบียบวินัย
4. เอกภาพในการบังคับบัญชา
5. เอกภาพของการอำนวยการ
6. การถือเอาประโยชน์ส่วนรวมก่อนประโยชน์ส่วนตัว
7. การให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม
8. การรวมอำนาจ
9. การมีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน
10. การจัดระเบียบ
11. ความเสมอภาค
12. ความมั่นคงในการทำงาน
13. ความคิดริเริ่ม
14. ความสามัคคี
หลักการการจัดการที่สำคัญของ Fayol
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์กร (Organizing)
3. การบังคับบัญชา (Command)
4. การประสานงาน (Co-ordination)
5. การควบคุม (Control)
Oliver Sheldon ชาวอังกฤษได้พัฒนาความคิดในเรื่องการจัดการและการบริหาร
หลักการของ Sheldon แบ่งออกเป็น 3 ประการ
1. การบริหาร (Administration)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและการประสานงานในหน้าที่ต่างๆ
2. การจัดการ (Management)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายภายในขอบเขตจำกัดซึ่งกำหนดขึ้นโดยฝ่ายบริหาร
3. หน้าที่ในการจัดองค์การ
เป็นกระบวนการประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคล
Luther Gulilck และ Lyndall Urwick
- Gulilck เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ส่วน Urwick เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการ
- Gulilck ได้เสนอแนวคิดในการจัดการซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร จะต้องดำเนินการ POSDCORB
- P (Planning) การวางแผน: เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการและวิธีการให้บรรลุผลตามต้องการ
- O (Organizing) การจัดองค์การ: เป็นการกำหนดโครงสร้างที่เป็นทางการของอำนาจ
- S (Staffing) การบริหารงานบุคคล
- D (Directing) การสั่งการ
- CO (Co-coordinating) การประสานงาน
- R (Reporting) การรายงานต่อฝ่ายบริหาร- B (Budgeting) การวางแผนการเงิน บัญชีและการควบคุม
2.กลุ่มทฤษฎีการจัดการด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)
- แนวคิดนี้มีผลมาจากแนวความคิดทางการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ที่คิดว่ามนุษย์ทำงานเพื่อผลตอบแทน หรือความต้องการในด้านเศรษฐกิจ
- Elton Mayo เป็นนักสังคมวิทยา (ปี 1880 – 1949) ชาวออสเตรเลีย และเป็นศาสตราจารย์ด้านการวิจัยอุตสาหกรรมของ Harvard University
- ได้ทำการศึกษาวิจัย Hawthorne study ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองในบริษัท Western Electric
- โดยทดลองตามสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการทำงานของพนักงาน
การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน
ระยะที่ 1:
- ทำการทดลองใช้สภาพของห้องทดสอบ
- ศึกษาถึงผลกระทบของสภาพแวดล้อมของการทำงานที่มีต่อผลผลิต
- โดยการทดสอบผลกระทบของแสงสว่างในการทำงานที่มีต่อคนงานว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อปริมาณของผลผลิตอย่างไร
- ผลการวิจัยพบว่า ไม่ว่าจะเพิ่มหรือลดแสงสว่างภายในห้องอย่างไร ผลผลิตก็ยังเพิ่มขึ้น
ระยะที่ 2 :
- ทำการทดลองกับตัวแปรอื่นๆ เช่น มีอาหารเช้าให้คนงาน มีชั่วโมงการหยุดพัก ให้มาทำงานในเช้าวันเสาร์ ลดหรือเพิ่มชั่วโมงการทำงาน และวิธีการจ่ายค่าตอบแทน
- ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรข้างต้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงาน แต่ไม่มากนัก
- ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ในเรื่องความสามารถในการรับรู้ การแปลความหมายและท่าทีในการทำงานของคนงาน
การวิจัยต่อจากนั้น ได้ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์คนงานทุกแผนกในบริษัทประมาณ 2,000 คน พร้อมสังเกตการทำงานของคนงานเกี่ยวกับเหตุผลที่ทำให้คนงานทำงานมากขึ้น ทำให้องค์การมีผลผลิตมากขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. เมื่อพนักงานรู้สึกว่าได้รับความสนใจจากบุคคลอื่น จะทำให้มีความกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น
2. ขวัญและกำลังใจในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญมาก ทั้งนี้เพราะพนักงานมีชีวิตจิตใจ ไม่สามารถซื้อหาด้วยเงินอย่างเดียว
3. ประสิทธิภาพการทำงานมิได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ดีเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับมนุษยสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์การด้วย
4. กลุ่มทำงานจะเป็นผู้กำหนดคุณลักษณะของสมาชิก แบบวิธีการของกลุ่มตลอดจนความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การในสัดส่วนที่กลุ่มยอมรับได้ โดยอาศัยความสัมพันธ์เชิงอำนาจของกลุ่ม
5. เมื่อพนักงานในระดับสูงสามารถจูงใจด้านจิตใจ จะมีความสำคัญมากกว่าการจูงใจด้วยเงิน
Abraham Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
1. ความต้องการทางร่างกาย
2. ความต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการด้านสังคม
4. ความต้องการยกย่อง
5. ความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
Douglas McGregor :
- ทฤษฎี X
- ทฤษฎี Y
ลักษณะที่สำคัญของทฤษฎี X
1. พนักงานต้องการทำงานให้น้อยที่สุด ดังนั้นผู้บริหารต้องคอยควบคุม สั่งการ หรือลงโทษเพื่อให้บุคคลทำงาน
2. พนักงานขาดความทะเยอทะยาน และไม่ต้องการรับผิดชอบอะไร
3. โดยทั่วไปพนักงานจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เพราะเกรงว่าตนเองจะเดือดร้อนหรือต้องการทำงานหนักกว่าเดิม
ลักษณะที่สำคัญของทฤษฎี Y
1. ชอบทำงาน
2. มีความคิดริเริ่ม ในการแก้ปัญหาในการทำงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
3. พนักงานมีความเต็มใจที่จะเสาะแสวงหางานมาทำ และมีความรับผิดชอบ
4. พนักงานจะยอมรับจุดมุ่งหมายขององค์การ เพื่อที่จะใช้ความพยายามในการทำงานให้สำเร็จ และบรรลุเป้าหมายขององค์การพนักงานมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาตนเองได้ และขณะนี้ยังไม่ได้ใช้ความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่
3.กลุ่มทฤษฎีการจัดการเชิงปริมาณ
กลุ่มทฤษฎีนี้เน้นแนวคิดของการบริหารที่สนใจทางด้านจำนวน การนำเอาข้อมูลสถิติมาใช้ในการตัดสินใจ
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
1. วิทยาการจัดการ (Management Science)
2. การจัดการปฏิบัติการ (Operation Management)
3. ระบบสารสนเทศการจัดการ (Management Information System: MIS)
1.วิทยาการจัดการหรือการวิจัยปฏิบัติการ
- เป็นการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่คำนึงถึงเหตุผล
- การตัดสินใจต้องพิจารณาทางเลือกต่างๆ จากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรือใช้การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์
- การใช้โมเดลสถานการณ์จำลอง ก่อนนำไปใช้จริง
2.การจัดการปฏิบัติการ
- เป็นการจัดการใช้เทคนิคเชิงปริมาณเพื่อปรับปรุงผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการ
- การคิดค้นออกแบบระบบเพื่อมาควบคุมกระบวนการผลิต การดำเนินงานและการบริหาร เช่น การจัดการสินค้าคงคลัง เทคนิคตารางเวลาเพื่อช่วยวางแผนการผลิต
3.ระบบสารสนเทศการจัดการ
- เป็นการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการจัดการ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดระบบของข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจผู้บริหารสามารเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
4.กลุ่มทฤษฎีการจัดการปัจจุบัน
- ในปัจจุบันมีเทคนิคใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา
- ประเทศที่เป็นผู้นำได้แก่ USA และ Japan
- เทคนิคใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เช่น
1. การบริหารงานตามวัตถุประสงค์ (Management by objective: MBO)
2. กลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality control: QC)
3. การรื้อปรับระบบ (Reengineering)
4. เทคนิคการบริหารแบบ 5 ส
5. กลยุทธ์การบริหารเพื่อให้เกิดความเป็นเลิศ
- ประโยชน์ของเว็บบล็อก
ในปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ส่วนใหญ่) ใช้งานง่าย ...โดยผู้เขียนไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมภาษา หรือโปรแกรมสำเร็จรูปใดๆ เลยก็ย่อมได้ สามารถปรับแต่ง แก้ไขได้ง่าย บนหน้าจอ ณ เวลานั้นเลย แต่หากจะมีความรู้เรื่องภาษา Html ก็จะยิ่งดีมากๆ เพื่อช่วยในการปรับแต่งในขั้นลึกยิ่งขึ้น ประโยชน์ของ Blog นั้นมีมากมาย กว้างขวางยิ่งกว่า ไดอารี่ หรือบันทึกส่วนตัวทั่วๆ ไป
ประโยชน์ของ Blog สามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1.เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
2.เป็นเครื่องมือช่วยในด้านธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
3.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4.ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย (ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
5.และอื่นๆ อีกมากมาย
- ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
กิจกรรมที่ได้ทำในวิชานี้นั้นมีหลากหลายมาก ทำให้เกิดความสนุกสนาน น่าสนใจ และการทำกิจกรรมนั้นทำให้รู้เกี่ยวกับ Blog ทำให้มีความสุขทำให้การเรียนรู้เกิดได้อย่างเต็มที่ เกิดทักษะ การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
อ้างอิง
http://2talkbig.blogspot.com/2007/06/blog_8254.html
http://angsila.cs.buu.ac.th/~nuansri/321441/lectures/ch00Management.ppt
วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553
กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ตั้งความหวังสู่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
- ขอบข่ายงานของเทคโนโลยีการศึกษา
1.การออกแบบ (Design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
- การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design)
- ออกแบบสาร (message design)
- กลยุทธ์การสอน (instructional strategies)
- ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)
2.การพัฒนา (Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ
- เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies)
- เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies)
- เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies)
- เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies)
3.การใช้ (Utilization) คือ ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
- การใช้สื่อ
- การแพร่กระจายนวัตกรรม
- วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ
- นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบัง
4.การจัดการ (Management) คือ ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน จัดการ การประสานงาน และให้คำแนะนำ
- การจัดการโครงการ
- การจัดการแหล่งทรัพยากร
- การจัดการระบบส่งถ่าย
- การจัดการสารสนเทศ
5.การประเมิน (Evaluation) หาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน
- การวิเคราะห์ปัญหา
- เกณฑ์การประเมิน
- การประเมินความก้าวหน้า
- การประเมินผลสรุป
ส่วนขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ตามแนวคิดของนักคิดไทย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ โดยประมวลออกเป็น 3 ขอบข่ายคือ ขอบข่ายด้านสาระของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ขอบข่ายด้านภารกิจ และขอบข่ายตามรูปแบบการจัดการศึกษา
ขอบข่ายด้านสาระของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หรือขอบข่ายตามแนวตั้ง ครอบคลุมด้านการจัดการ การพัฒนาและการออกแบบระบบทางการศึกษา พฤติกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอน สื่อสารการศึกษาสภาพแวดล้อมทางการศึกษา การจัดการด้านการเรียน การสอน และการประเมินการศึกษา
ขอบข่ายตามรูปแบบการจัดการศึกษา หรือขอบข่ายตามแนวลึก มีการนำเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษาไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัด การศึกษา 4 ด้าน คือ
1) การศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกตามระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน
3) การฝึกอบรม
4) การศึกษาทางไกล
สรุปได้ว่า ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ จากโสตทัศนศึกษา เป็นเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งนำกระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเข้ามาใช้ มีการบูรณาการความรู้และศาสตร์ต่างๆ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา และการศึกษา หลักสูตรและการสอน สื่อและการสื่อสาร ทฤษฎีระบบ ทฤษฎีองค์การและการจัดการ การประเมิน ซึ่งนับได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษามีขอบเขตที่กว้างขวาง และเป็นสหวิทยาการ
ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงนับว่าเป็นศาสตร์แห่งการพัฒนา และแก้ปัญหาอย่างมีระบบเพื่อให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ความหมายของศูนย์
ศูนย์ คือ แหล่งรวบรวม สื่อ วัสดุ อุปกรณ์การเรียนรู้ รวมไปถึงการดำเนินงานระบบวิธีการทำงานและความรู้ต่างๆเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้
- ความหมายของทรัพพยากร
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง สิ่งที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ การที่มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของทรัพยากร และมนุษย์ผู้ใช้ทรัพยากรนั้นที่จะนำความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยในการพัฒนาทรัพยากรขึ้นมาใช้ได้มากน้อยเพียงไรและรู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นให้สามารถเกิดประโยชน์แก่มนุษย์และสังคมให้มากที่สุดและนานที่สุดด้วย
- ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
- ภาพของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝัน
วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553
กิจกรรมสัปดาห์ที่ 1 เปิดดลกการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
(1)สิ่งที่ใฝ่ฝันที่สุดในชีวิต
ความใฝ่ฝัน "คนเราเกิดมามีความใฝ่ฝันที่ต่างกัน" เมื่อเราอายุมากขึ้น มักจะลืมความใฝ่ฝันในวัยเด็ก ลองถามตัวเองว่า "เรายังมีความฝันในวัยเด็กเหลืออยู่ไหม" เชื่อว่าความใฝ่ฝันในวัยเด็ก ยังเป็นความฝังใจของทุกคน เมื่อเริ่มรู้จักการเรียนรู้ มีการจดจำ มีการตั้งคำถาม การหาคำตอบ ก็มักจะเกิดความใฝ่ฝัน
ในวัยเด็กผมก็มีความใฝ่ฝันเช่นกัน คือ อยากเป็นทหาร แต่พอเมื่อเราโตขึ้น มีความคิดที่เปลี่ยนไป ความใฝ่ฝันก็เปลี่ยนไปตามความคิด โดยตอนนี้ความใฝ่ฝันที่ต้องการที่สุด คือ การศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุดเพื่อที่จะได้มีความรู้เพื่อไปประกอบอาชีพและเพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 เวลาที่ผมจะต้องศึกษาก็เหลือเพียงแค่ปีเดียว ผมก็พยายามตั้งใจศึกษาอย่างเต็มที่เพื่อความสำเร็จในอนาคต เพื่อตัวผมเอง และพ่อแม่
(2)ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ข้าพเจ้ารู้จัก
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แหล่งที่ 1 พิพธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ศูนทรัพยากรการรียนรู้แหล่งที่ 2 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก "พิพธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม" ซึ่งก่อตั้งเดือน กันยายน 2512 โดยคณะอาจารย์ในภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรม บางแสน (มหาวิทยาลัยบูรพา ในปัจจุบัน)
ศูนทรัพยากรการรียนรู้แหล่งที่ 3 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นศูนย์บริการสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัย ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกพร้อมกับการก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อปี พ.ศ.2534 โดยใช้ ชื่อว่าศูนย์ปฏิบัติการทางวิชาการ ให้บริการยืม-คืนหนังสือ รัฐบาลให้ความสำคัญต่องานด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยเฉพาะสื่อการเรียนการสอน เพื่อรองรับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ในด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในส่วนของการผลิตและพัฒนาสื่อ กล่าวว่า “ การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนมุ่งให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อทุกประเภท รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อคอมพิวเตอร์ และสื่อประสม อุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครู และการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ”
อ้างอิง